วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผู้พิพากษา

“..ผู้พิพากษา อาชีพในฝันของฉัน..”


ผู้พิพากษา เป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆ คน เนื่องด้วยค่าตอบแทนที่ได้รับจากการทำงานหรือว่าเงินเดือนนั้นค่อนข้างสูง คือหนึ่งแสนบาทโดยประมาณ อีกทั้งยังได้รับสวัสดิการที่ดีอีกด้วย สำหรับดิฉัน นอกจากค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับแล้ว สิ่งที่ทำให้ดิฉันหลงใหลและอยากจะเป็นผู้พิพากษา ก็คือการได้ช่วยเหลือผู้คนที่ต้องตกเป็นจำเลยของสังคมและเดือดร้อนจากความอยุติธรรมที่มีอยู่ในสังคมทุกๆวันนี้ อีกทั้งผู้พิพากษา ยังเป็นอาชีพที่นำความยุติธรรม ความปรองดอง และความสงบสุขมาให้แก่ประชาชนและสังคมได้อีกด้วย


นิยามของงาน
พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในศาลยุติธรรม เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ใช้ดุลยพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและทำคำสั่งหรือคำพิพากษาในคดีแพ่งและคดีอาญาปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา


       หน้าที่และลักษณะงาน
       หน้าที่และลักษณะงานของผู้พิพากษามีดังนี้
o  ตรวจคำคู่ความซึ่งยื่นต่อศาลเพื่อสั่งรับหรือไม่รับหรือให้ทำใหม่หรือให้แก้ไขเพิ่มเติม
o  ควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี
o  ออกข้อกำหนดเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลและเพื่อให้กระบวนพิจารณา       ดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็ว
o  ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่นหรือออกคำสั่งใด ๆ 
o  ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญา
o  ไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานนั่งพิจารณาคดีและควบคุมการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ตรวจบุคคล วัตถุสถานที่หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง
o  พิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาโดยยุติธรรมตามกฎหมาย
o  บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็วอาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่างประเภทกันตามประเภทของศาล

       สภาพการทำงาน
          ผู้พิพากษามีห้องทำงานที่มีสภาพเหมือนห้องทำงานทั่วไปและเมื่อต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความจะต้องนั่งบังลังก์ปฏิบัติหน้าที่พิพากษาเป็นประธานในห้องตัดสินคดีความ          
ผู้พิพากษาอาจจะต้องปฏิบัติงานประจำศาลในต่างจังหวัด โดยเฉลี่ยจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3 - 4 ปีในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบ้านพักผู้พิพากษาประจำในทุกจังหวัดหรืออาจจะปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม




น.ส.วิจิตรา  ผลพฤกษา ม.5 ห้อง 844 เลขที่ 25